พนักงานทุกคนควรเข้าใจภาพรวมบริษัทที่ตัวเองทำ
- พนักงานควรรู้ว่า บริษัทเราทำเกี่ยวกับอะไร ? ลูกค้าคือใคร ? สภาพการเเข่งขันในตลาดเป็นอย่างไร ?
- พนักงานทุกคนควรรู้ถึงอุปสรรค ปัญหา ที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่
ฝึกการให้คำวิจารณ์ เเละ น้อมรับคำวิจารณ์
- ติชม กันต่อหน้า ด้วยเหตุเเละผล
- พูดด้วยความจริงใจ จะช่วยสร้างความเข้าใจเเละเคารพต่อกัน
- การวิจารณ์โดยเปิดเผยชื่อ ทำให้การวิจารณ์มีความโปร่งใส ไม่มีอคติ
- หัวข้อหลักในการวิจารณ์ : สิ่งใดที่ควร ริเริ่ม, ยกเลิก, หรือ ทำต่อไป
- ในระหว่างการประชุม ทุกคนควรสามารถเเสดงความเห็น ได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร หรือ พนักงาน
โต้เถียงกันด้วยข้อเท็จจริง
- ผู้โต้เถียงควรเตรียม ข้อเท็จจริง ไว้สนับสนุนความคิด ไม่ใช่ การคาดเดา
- อย่ามีอัตตาในการถกเถียง ทำใจไว้ว่าประเด็นของคุณอาจเป็นฝ่ายผิด เเละเปิดใจยอมรับ
- การอภิปรายในกลุ่มเล็ก ๆ (3–4 คน) ทุกคนจะมีส่วนร่วมมากสุด ไม่ค่อยมีความเห็นผสมโรง ว่าตามกัน, อย่างที่กลุ่มใหญ่มักเป็น
- อย่าเชื่อว่า ข้อมูลทุกอย่าง คือ ข้อเท็จจริง เพราะคนเรามักโน้มเอียงไปทางข้อมูลที่สนับสนุนอคติของตน
อย่าคาดหวังว่า ทีมงานในปัจจุบัน จะยังเป็น ทีมงานของวันพรุ่งนี้
- บริษัทเปรียบเหมือน ทีมกีฬา ที่ต้องคอยเสาะหาผู้เล่นใหม่ เเละ ตัดบางคนออกจากการเป็นผู้เล่นตัวจริง
- ในทุก ๆ ตำเเหน่ง ควรพยายามจ้างคนที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับงานนั้น ไม่ใช่คนที่เเค่พอทำได้
- ยอมรับการที่จะบอกลาทุกคน เเม้เเต่คนเก่ง ๆ หากทักษะของเขาไม่เหมาะสมกับงานที่เราต้องทำอีกต่อไป
จงเป็นบริษัทที่ใครจากไปก็เชิดชู
- ตัวชี้วัดไม่ควรจะขึ้นกับว่า คุณเก็บรักษาพนักงานไว้ได้กี่คน เเต่อยุ่ที่ว่า ตอนนี้คุณมีคนเก่ง ที่มีทักษะที่คุณต้องการอยุ่กี่คน
- วิธีเดียวที่บริษัทจะมั่นใจได้ว่า คนที่ออกไปจะหาโอกาสดี ๆ จากที่อื่นได้ คือ ทำให้บริษัทตัวเองขึ้นชื่อว่า เป็นบริษัทที่เป็น ศูนย์รวมคนเก่ง
- เเรงจูงใจในการทำงาน ควรเกิดจาก คนเก่งที่หนาเเน่น เเละ งานที่ท้าทาย, ไม่ใช่ ความสะดวกสบายที่ที่ทำงานเสนอให้
- การสัมภาษณ์งานมีความสำคัญ เพราะ ไม่ใช่เเค่บริษัทที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกพนักงาน, ผู้สมัครงานก็มีสิทธิเลือกที่ทำงานเช่นกัน
- การสัมภาษณ์งานเป็นภาพสะท้อนอันทรงพลังอย่างเเรกว่า บริษัทของคุณทำงานเป็นอย่างไร ๆ ไม่ว่าด้านดีหรือเเย่
จ่ายให้พนักงานตามค่าที่คุณเห็นควร
- อย่าพิจารณาเเค่ว่าตอนนี้บริษัทต้องจ่ายให้พนักงานเท่าไหร่ ต้องพิจารณาด้วยว่า เขาจะทำเงินเพิ่มให้บริษัทได้เท่าไหร่
- เปิดโอกาสพูดคุยเรื่องค่าตอบเเทน เเละ ผลงานที่เเต่ละตำเเหน่งทำให้กับบริษัท จะช่วยให้พนักงานเข้าใจเรื่องเงินเดือนได้ดีขึ้น เเละ ตัดปัญหาเรื่องอคติ ทั้งต่อผู้บริหาร เเละ ต่อพนักงานด้วยกันเอง
ศิลปะของการจากลาที่ดี
- พนักงานจำเป็นต้องได้รู้ว่า ทักษะเเละความชอบของพวกเขา เข้ากันดีกับอนาคตที่บริษัทกำลังจะมุ่งไปหรือไม่, เพื่อพวกเขาจะได้ตัดสินใจถูกว่าตัวเองเหมาะสมกับที่อื่นมากกว่าหรือเปล่า
- ทุกคนควรได้รับฟังเสียงสะท้อนให้บ่อยว่า ตัวเองทำงานได้ดีเเค่ไหน, การประเมินผลประจำปี เป็นช่วงเวลาที่นานเกินไป พนักงานไม่มีสิทธิได้เเก้ตัวกับความผิดพลาดของตน, อาจเปลี่ยนเป็น ทุกครึ่งปี (6 เดือน) หรือ ทุกไตรมาส (3 เดือน) เเทน
- เมื่อเราจ้างใครมาทำงานเเล้วปรากฎว่าเขาทำไม่ได้ คุณควรเข้าไปพูดคุยด้วยความจริงใจ เเจกเเจงว่า เขาไม่เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการ, การทำเเบบนี้ เเม้พนักงานจะเสียใจ เเต่สุดท้ายเขาจะเข้าใจ เเละดีใจที่เราไม่โกหกเขา
เเหล่งอ้างอิง